Adjective clause
Adjective Clauses (Relative Clauses) คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำคุณศัพท์ คือขยายคำนาม โดยอาจชี้เฉพาะคำนามนั้นหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามนั้น
adjective clauses เชื่อมกับประโยคหลักด้วย relative pronoun (เช่น who, whom, whose, preposition + whom, which, of which, preposition + which, that) และ relative adverb (เช่น where, when, why) ซึ่งทำหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายใน adjective clause ด้วย
adjective clauses อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.1 restrictive relative clauses (defining relative clauses) เป็นประโยคคุณศัพท์ที่ชี้เฉพาะคำนามที่ถูกขยาย หากไม่มีประโยคคุณศัพท์ชี้เฉพาะนี้ขยาย ก็จะทำให้คำนามในประโยคหลักมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น
Students who get grade A in all subjects will be sent for special training in the U.S.
[อนุประโยค who get grade A in all subjects เป็น restrictive relative clause ที่ชี้เฉพาะว่านักเรียนคนที่สอบได้เกรด A ทุกวิชา (กล่าวคือ ไม่ใช่นักเรียนทุกคน) จะถูกส่งไปเข้ารับการอบรมพิเศษที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งหากไม่มีประโยคคุณศัพท์ชี้เฉพาะนี้ขยายคำนาม students ก็จะตีความหมายได้ว่า หมายถึงนักเรียนทุกคน]
People who do such silly things are fools.
[อนุประโยค who do such silly things เป็น restrictive relative clause ที่ชี้เฉพาะว่าคนที่ทำสิ่งเหลวไหล เซ่อ ๆ แบบนั้น (กล่าวคือ ไม่ใช่คนทุกคน) เป็นคนโง่ เบาปัญญา ซึ่งหากไม่มีประโยคคุณศัพท์ชี้เฉพาะนี้ขยายคำนาม people ก็จะตีความหมายได้ว่า หมายถึงคนทุกคน]
Tell me the reason why you didn’t do your homework.
[อนุประโยค why you didn’t do your homework เป็น restrictive relative clause ที่ชี้เฉพาะ เหตุผลว่าทำไมคุณจึงไม่ทำการบ้าน (กล่าวคือ ไม่ใช่เหตุผลเรื่องใดก็ได้) ซึ่งหากไม่มีประโยคคุณศัพท์ชี้เฉพาะนี้ขยายคำนาม reason ก็อาจตีความหมายได้ว่า หมายถึงเหตุผลเรื่องใดก็ได้ หรือเหตุผลอื่น ๆ ]
1.2 non-restrictive relative clauses (non-defining relative clauses) เป็นประโยคคุณศัพท์ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามที่ขยาย แม้จะไม่มี ก็ไม่ได้ทำให้ความหมายของประโยคหลักผิดไป เช่น
Soonthorn Phu, who wrote “Phra Aphaimanee,” was one of the most famous poets in Thailand.
[อนุประโยค who wrote “Phra Aphaimanee” เป็น non-restrictive relative clause ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สุนทรภู่ซึ่งเป็นคนที่แต่งเรื่องพระอภัยมณี แม้จะไม่มีข้อความนี้ขยายเพิ่มเติม ก็สามารถเข้าใจได้ตรงกันว่าหมายถึงสุนทรภู่ กวีเอกของไทย]
Her parents, who left her with her grandmother, came back.
[อนุประโยค who left her with her grandmother เป็น non-restrictive relative clause ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า พ่อแม่ของเธอซึ่งทิ้งเธอไว้กับยาย แม้จะไม่มีข้อความนี้ขยายเพิ่มเติม ก็สามารถเข้าใจได้ตรงกันว่าหมายถึง พ่อแม่ของเธอ (ไม่ใช่คนอื่น) กลับมาหาเธอ]
เพื่อเข้าใจความแตกต่างระหว่าง restrictive relative clauses (defining relative clauses) และ non-restrictive relative clauses (non-defining relative clauses) มากยิ่งขึ้น ขอให้เปรียบเทียบตัวอย่างเพิ่มเติมแต่ละคู่ ต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1
(restrictive) The girl (whom) Suchart is going to marry is over twenty-five.
(non-restrictive) Nida, whom Suchart is going to marry, is over twenty-five.
ตัวอย่างที่ 2
(restrictive) The river which runs through Bangkok is now polluted.
(non-restrictive) The Chao Phraya river, which runs through Bangkok, is now polluted.
ตัวอย่างที่ 3
(restrictive) He works at a factory where radios are produced.
(non-restrictive) He works at RDO factory, where radios are produced.
ตัวอย่างที่ 4
(restrictive) They visited me one day when I did not go to work.
(non-restrictive) They visited me last Tuesday, when I did not go to work.
1.3 connective relative clauses เป็นประโยคคุณศัพท์ที่ใช้คำเชื่อม which ซึ่งไม่ได้แทนเฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า แต่ใช้แทนประโยคหรือข้อความที่มาข้างหน้าทั้งหมด which นี้ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรมตรง หรือกรรมตามหลังบุพบทใน adjective clauses โดยจะใช้ comma คั่นระหว่างข้อความแรกกับข้อความหลัง เช่น
He is a kind, gentle, and well-behaved person, which made his parents very proud of him.
She came very late, with which I was very dissatisfied.
She considered them all fools, to which they replied with angry cries.
ที่มา https://www.stou.ac.th/schools/sla/englishwriting/cd-rom/Module4/Presentations/complexsentences.htm